Select Page
Home 9 ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก แบบ 2.1)

ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
(ปริญญาเอก แบบ 2.1)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารแห่งรัฐ
Doctor of Philosophy Program in State Administration

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ปร.ด. (การบริหารแห่งรัฐ)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) Ph.D. (State Administration)

วิชาเอก

การบริหารแห่งรัฐ

ข้อกำหนดของหลักสูตร

1. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาที่คัดเลือกแล้วมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ คณะกรรมการวิทยาลัยอาจกำหนดให้ศึกษาวิชาพื้นฐานเพิ่มเติมได้แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต และต้องได้ค่าระดับ P

2. การศึกษารายวิชาต่าง ๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร โดยนักศึกษาจะต้องสอบผ่านการเรียนรายวิชาที่คิดค่าระดับตามที่กำหนดในหลักสูตรให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 3 ภาคการศึกษาปกติ หลังจากได้รับอนุมัติให้เข้าศึกษาในหลักสูตร โดยจะต้องมีค่าเฉลี่ยสะสมวิชาบังคับไม่ต่ำกว่า 3.00 และค่าเฉลี่ยสะสมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 3.00

3. นักศึกษา อาจขอเทียบรายวิชาที่เคยเรียนมา ให้เป็นรายวิชาในหลักสูตรโดยอาจขอเทียบได้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของจำนวนหน่วยกิตรายวิชา ทั้งนี้รายวิชาที่ขอเทียบจะต้องได้ค่าระดับไม่ต่ำกว่า B หรือเทียบเท่า โดยให้ถือว่าได้ค่าระดับ P

4. หลักเกณฑ์การสอบภาษาต่างประเทศ
ต้องสอบภาษาอังกฤษได้คะแนนไม่น้อยกว่าที่สถาบันภาษาและ/หรือคณะกรรมการวิทยาลัยกำหนดก่อนการคัดเลือกเข้า หรือภายหลังการเข้ารับการศึกษาแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 ปี เฉพาะนักศึกษาแบบ 2.1 ต้องสอบภาษาอังกฤษให้ได้ก่อนสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิทยาลัยกำหนด การสอบภาษาอังกฤษอาจแทนด้วยการศึกษาภาษาอังกฤษทั่วไปในชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิตสำหรับผู้สอบเข้า และ 3 หน่วยกิตสำหรับผู้สอบออก เฉพาะในการสอบออกให้เน้นทั้งการใช้และความเข้าใจภาษาเป็นหลัก

5. การสอบวัดคุณสมบัติและการทำวิทยานิพนธ์
เมื่อเรียนรายวิชาครบถ้วนแล้วให้สอบวัดคุณสมบัติ หลังจากสอบวัดคุณสมบัติผ่านแล้วจึงสามารถลงทะเบียนการทำวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าอิสระ

โครงสร้างหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษา

  • จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาศึกษา
    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 63 หน่วยกิต สำหรับดุษฎีบัณฑิตแบบ 2.1

ระยะเวลาศึกษา

เป็นหลักสูตรแบบศึกษาไม่เต็มเวลาหรือนอกเวลาราชการ เสาร์ – อาทิตย์ นับตั้งแต่วันที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรในแบบ 2.1 อย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาปกติ อย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษาปกติ